การขออนุญาต Solar cell

การขออนุญาตติดตั้ง และ ผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell
การขออนุญาตติดตั้ง และ ผลิตพลังงานจาก Solar Cell จำเป็นต้องแจ้งให้กับหลาย ๆ หน่วยงานทราบ ถึงการผลิตพลังงานไฟฟ้า ใช้เองภายในครัวเรือน หรือ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละ ขนาดการติดตั้งมีขั้นตอนการขออนุญาตที่ต่างกันออกไป แบ่งเป็น 3 ลักษณะ
- ขนาดระบบไม่เกิน 200 kW. (กิโลวัตต์)
- ขนาดระบบเกิน 200 แต่ไม่เกิน 1,000 kW. (กิโลวัตต์)
- ขนาดระบบเกิน 1,000 kW.(กิโลวัตต์) ขึ้นไป
การขออนุญาตติดตั้ง Solar Cell ในแต่ละขนาดระบบ จะมีรายละเอียดการขออนุญาต และใบอนุญาตที่แตกต่างกันออกไป ในที่นี้เราจึงขอยกตัวอย่างการขออนุญาตที่ขนาดระบบไม่เกิน 200 kW. (กิโลวัตต์) เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการขออนุญาต และการประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ
สรุปการขออนุญาตติดตั้ง Solar Cell เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ยื่นขออนุญาตก่อสร้างยื่นขออนุญาตก่อสร้าง
ประสานงานกับหน่วยงานราชการท้องถิ่น หรือ พื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเขตมสำนักงานเทศบาล/อบต. เพื่อขอใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) สำหรับโครงสร้าง Solar Cell บนหลังคาก่อนการติดตั้ง
เอกสารที่ต้องเตรียม
- แบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างหลังคาสำหรับ Solar Cell
- รายการคำนวณโครงสร้างหลังคา แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองการคำนวณโครงสร้างหลังคาจากวิศวกรโยธา
เมื่อได้รับเอกสารหลักฐาน ใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร (อ.1) ก็สามารถติดตั้ง Solar Cell ได้เลย
2. ลงทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.,ERC)
ลงทะเบียนกับ กกพ. เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม สามารถยื่นที่สำนักงาน กกพ. หรือ เว็บไซต์ของ กกพ. ได้ที่เว็บไซต์ https://www.erc.or.th/th/produce-regulated-energy/
เอกสารที่ต้องเตรียม
- สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
- สำเนาหนังสือรับรองบริษัท (กรณีเป็นนิติบุคคล)
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
- ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์โซล่าร์เซลล์ที่เห็บครบทุกแผง และภาพอินเวอร์เตอร์
- แบบ Single Line Diagram หรือ แบบไฟฟ้า Solar Cell พร้อมวิศวกรไฟฟ้าลงนามรับรอง
- แบบแปลนโครงสร้างที่ติดตั้ง Solar Cell และรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมวิศวกรโยธาลงนามรับรอง
- เอกสารรายละเอียด ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซล่าร์เซลล์ที่ติดตั้ง
- เอกสารายละเอียด ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของอินเวอร์เตอร์ที่ติดตั้ง
- เอกสารรายละเอียด ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าย้อนกลับ
เมื่อยื่นเอกสารกับหน่วยงาน กกพ. จนแล้วเสร็จ และได้รับหนังสืออนุญาตประกอบกิจการผลิตพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม เมื่อได้รับหนังสือจะดำเนินการประสานงานกับ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อขออนุญาตขนานไฟ หรือ เชื่อมต่อระบบ เข้ากับการไฟฟ้า ต่อไป
3. แจ้งขอขนานไฟฟ้า หรือ เชื่อมต่อระบบ เข้ากับการไฟฟ้า
ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการขอขนานไฟฟ้า กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของบ้าน หรือ โรงงานอุตสาหกรรม
กฟน. (MEA) : https://myenergy.mea.or.th/
กฟภ. (PEA) : https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/parallel
เอกสารที่ต้องเตรียม
- แบบคำขอขนานไฟฟ้า
- หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ
- แผนผังสถานที่ที่ตั้ง และรูปภาพสถานที่ติดตั้ง ที่ติดตั้งโซล่าร์เซลล์
- รูปภาพติดตั้งอุปกรณ์โซล่าร์เซลล์ ที่เห็นทุกแผง
- บัตรประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
- หนังสือรับรองวิศวกรออกแบบ และควบคุมงาน
- สำเนาหนังสือใบประกอบวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้า
- แบบ Single Line Diagram หรือ แบบไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ พร้อมวิศวกรไฟฟ้าลงนามรับรอง
- เอกสารรายละเอียด ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec. ของแผงโซล่าร์เซลล์ ที่ติดตั้ง
- เอกสารรายละเอียด ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec. ของอินเวอร์เตอร์ ที่ขึ้นทะเบียน หรือผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
- เอกสารรายละเอียด ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec. ของอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าย้อนกลับ
4. ยื่นสำเนาหนังสือรับ
เมื่อทำการแจ้งยกเว้นการขอใบอนุญาตกับ กกพ. และ แจ้งขอขนานไฟฟ้า กับ กฟน. และ กฟภ. ผ่านเรียบร้อย ต้องดำเนินการชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานที่รับแจ้ง เมื่อชำระค่าบริการต่าง ๆ ครบถ้วนเรียบร้อย จากนั้นการไฟฟ้าจะนัดหมายวันเข้าไปตรวจสอบสายภายใน และระบบโซล่าร์เซลล์ที่เราติดตั้ง เมื่อผ่านตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนดไว้เรียบร้อย หลังจากนั้น การไฟฟ้าจะเข้ามาทำการเปลี่ยนมิเตอร์เดิมเป็นสำหรับใช้กับโซล่าร์เซลล์โดยเฉพาะ เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มใช้งาน และรับผลประหยัดจากโซล่าร์เซลล์ได้เลย
ในการขออนุญาตต่าง ๆ แนะนำว่าให้บริษัทผู้รับเหมาที่ติดตั้งเป็นฝ่ายดำเนินการเรื่องขออนุญาตติดตั้ง Solar Cell ให้เลยดีกว่า เพราะ ITS มีทีมสำหรับการยื่นเอกสารขออนุญาตโดยเฉพาะ ทำให้การยื่นขออนุญาตถูกต้องตามกระบวนการ และการขออนุญาตเร็วขึ้น